อาหารนานาชาติ
เทคนิคการประกอบอาหาร หมายถึง ความชำนาญ รอบรู้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการประกอบอาหาร ชนชาติ ต่าง ๆ จะมีเคล็ดลับ หรือเทคนิคในการประกอบอาหารที่ต่างกันไป อาหารนานาชาติส่วนใหญ่ในประเทศเรามีทั้ง อาหารประเทศ อเมริกา อังกฤษ อิตาเลียน เช่น แฮมเบอร์เกอร์ สตูว์ สปาเก็ตตี้ พุดดิ้ง ฯลฯ นอกจากนี้อาหารนานา ชาติของประเทศแถบเอเซีย เช่น จีน เวียตนาม มุสลิม ญี่ปุ่น ก็เป็นที่นิยมในประเทศไทย ทำให้คนไทยโดยทั่วไป ต้องหาความรู้เกี่ยวกับการประกอบอาหารของประเทศนั้น ๆ เพิ่มเติม สำหรับช่วงเวลาในการรับประทานอาหาร ก็คล้ายๆกัน มื้ออาหารแต่ละมื้อประกอบด้วย
อาหารเช้า (Breakfast) อาหารกลางวัน (Lunch) และ อาหารเย็น (Dinner)
รายการอาหารก็จะประกอบด้วยอาหารชนิดต่าง ๆ เช่น
อาหารเช้า ถ้ารับประทานแบบยุโรปก็จะมีกับขนมปัง เนย และแยม หรืออาจมีน้ำผลไม้อีก 1 แก้ว ถ้าแบบ อเมริกันจะมีไข่ดาว แฮม ไส้กรอก เนื้อสัตว์เพิ่มขึ้นมา หรือจะรับประทานแพนเค้ก หรือธัญพืชอบใส่นม ถ้าเป็นคน ทำงานต้องเร่งรีบ ก็จะกินแซนด์วิช หรือแฮมเบอร์เกอร์ อาหารกลางวัน การรับประทานอาหารกลางวัน จะรับประทานสลัด ประเภทน้ำใส น้ำข้น หรือขนมปังก่อน สเต็กเนื้อ ผัดมักกะโรนี สปาเก็ตตี้ พิซซ่า เป็นต้น อาหารเย็น ถ้าเป็นการรับประทานแบบมีพิธี จะต้องเริ่มด้วยการดื่มเรียกน้ำย่อย แล้วจึงถึงอาหารพวกแอปปิ ไทเซ่อร์ และออเดิร์ฟ แล้วจึงเสิร์ฟอาหารชุดเริ่มด้วย ซุป อาหารจานหลักคือ เนื้อสัตว์จะปรุงโดยการอบหรือทอด
เทคนิคการเลือกซื้ออาหารเพื่อนำมาประกอบอาหารนานาชาติ การเลือกซื้อสัตว์ปีกสัตว์ปีกที่นิยมรับประทานมีหลายชนิด เช่น ไก่ เป็ด นก หลักการเลือกจะคล้ายคลึงกัน โดย ต้องคำนึงถึงความสะอาด ราคา และคุณภาพ สัตว์ปีกในปัจจุบันมีขายทั้งตัวและชำแหละเป็นส่วน ๆ สามารถเลือก ซื้อเฉพาะส่วนได้ เช่น ปีก น่อง ฯลฯ ทำให้สะดวกในการประกอบอาหาร ไก่ถ้าเลือกซื้อทั้งตัวควรสังเกตดูสีของไก่ ไก่สดมีสีน่ารับประทาน ไม่ซีดหรือมีจ้ำเขียว ๆ ต้องควักไส้ให้เรียบร้อย มีเนื้อมาก ลักษณะผิวเต็มไม่เหี่ยวย่น ลูกตา ไม่ลึกบุ๋ม ก้านคอและรอยที่ถูกเชือดยังสดไม่ช้ำ ควรเลือกซื้อไก่อ่อนเพราะเนื้อนุ่ม ไก่อ่อนเมื่อกดที่ปลายกระดูกอกจะ อ่อนตัวตามแรงกด เป็ด การเลือกซื้อเช่นเดียวกับไก่ ต้องสด มีเนื้อมาก ดูที่ส่วนอกจะเห็นได้ชัด ถ้าเป็ดผอมเนื้ออกจะน้อย ถ้าเป็ด อ่อนเกินไปขนอ่อนจะมาก เนื้อไม่แน่น ควรเลือกเป็นขนาดอายุกลาง ๆ มีเนื้อหน้าอกแน่นผิวสีชมพูแก่ หนังเรียบ ไม่ เหนียวไม่มีปุ่มเขียว ๆ ทั่วไป ลูกตาไม่ลึกลงไปมาก เป็ดแก่ดูได้จากจงอยปากและเท้าจะมีสีดำ เป็ดอ่อนจงอยปาก และเท้ามีสีเหลือง นก เลือกที่สด ตาแจ่มใส สีดำ ไม่ลึกลงไปในเบ้าตา ขาและเท้าอ่อนงอพับได้ง่าย หากยังสดจะมีลักษณะดังนี้
ใต้ปีกไม่เหนียว ดมดูที่ก้นไม่มีกลิ่นตุ ๆ ตรงปลายปีกจะไม่มีสีคล้ำ หนังบางเต็ม ไม่ย่น สีไม่ซีด สังเกตรอยรูขน ถ้าปุ่มใหญ่เป็นไก่แก่ ปุ่มเล็กเป็นไก่อ่อน เมื่อกดที่กระดูกปลายอก ถ้าเป็นไก่อ่อนจะนิ่มกดลง สังเกตรูปร่าง น้ำหนักของสัตว์ปีกชนิดนั้น ๆ สัดส่วนของเนื้อกระดูกและไขมัน ตาใส ไม่ลึกโบ๋ ไม่มีรอยจ้ำเขียวตามท้อง คอ
การเลือกซื้ออาหารประเภทเนื้อ อาหารประเภทเนื้อ ได้แก่ เนื้อวัว เนื้อควาย เนื้อหมู เลือกซื้อให้เหมาะกับชนิดของอาหารที่จะทำการย่าง อบ ผัด ยำ ทอด และการหุงต้มที่ใช้เวลาน้อยควรซื้อ เนื้อสันใน หรือเนื้อที่นุ่ม เพราะมีไขมันปนซึ่งไขมันจะช่วยไม่ให้เนื้อแห้งเกินไปในเวลานำไปย่างหรืออบ ส่วนการ ต้ม ตุ๋น เคี่ยวเปื่อย ซึ่งเป็นการใช้เวลานานควรซื้อเนื้อที่เหนียวกว่าการซื้อเนื้อส่วนที่นิ่มมาเคี่ยวไม่เป็นการประหยัด เพราะต้องซื้อเนื้อในราคาแพงกว่าเนื้อส่วนที่เหนียว และการหุงต้มนานเกินไป จะทำให้เนื้อกระด้างเหนียวได้
เลือกซื้อให้ได้ปริมาณและคุณค่าคุ้มกับราคา คือ ให้มีส่วนที่กินได้ให้มากที่สุด เช่น เนื้อแดงจะมีส่วนที่กิน ได้มากกว่าซี่โครง เมื่อเทียบส่วนที่กินได้แล้ว ให้ปริมาณคุ้มค่าเงินมากกว่า ราคาที่สูงไม่ได้หมายความว่าคุณค่า อาหารดีกว่าราคาถูก เช่น เนื้อสันมีราคาแพงกว่าเนื้อส่วนอื่น ๆ แต่ไม่ได้ให้คุณค่าทางอาหารมากกว่าเนื้อส่วนอื่น เพียงแต่ ให้ความนุ่มมากกว่า
เลือกซื้อเนื้อสัตว์อายุน้อย โดยพิจารณาดูจากกระดูกที่ติดมา ถ้ากระดูกพรุนสีแดง มีส่วนหุ้มปลายกระดูก ตามข้อต่อหนาแสดงว่าเป็นสัตว์อายุน้อย แต่ถ้ากระดูกมีรูพรุนน้อย ส่วนใหญ่ค่อนข้างแข็ง สีขาว มีส่วนหุ้มปลาย กระดูกบาง แสดงว่าเป็นสัตว์แก่ เนื้อเหนียว คุณภาพไม่ดีเท่าสัตว์อายุน้อย
เลือกซื้อเนื้อที่ฆ่าถูกวิธี เช่น ฆ่าจากโรงฆ่าสัตว์ของรัฐบาล มีกรรมวิธีชำแหละถูกต้อง ได้รับการตรวจสอบ เรียบร้อยว่าปลอดภัย ไม่มีโรค หรือพยาธิที่ติดต่อมาถึงคนได้
การเลือกซื้อเนื้อสัตว์ มีลักษณะดังนี้เนื้อวัว การเลือกซื้อเนื้อวัวที่สด จะมีสีแดงสดไม่เขียว เมื่อใช้มีดตัดจะแห้ง มีมันสีเหลือง ลองใช้นิ้วกดดู จะไม่เป็นรอยบุ๋ม เมื่อวางทิ้งไว้จะมีน้ำสีแดงออกมา ดมดูไม่มีกลิ่นเหม็นเน่าหรือเหม็น เปรี้ยว เนื้อควาย มีสีแดงคล้ำกว่าเนื้อวัว เส้นหยาบมีมันขาว เมื่อปรุงอาหารสุกแล้วจะเหนียวกว่าเนื้อวัว
ข้อสังเกต ความแตกต่างระหว่างเนื้อวัวกับเนื้อควาย เนื้อวัวมีสีแดงสด เนื้อแน่นละเอียด มันวัวมีสีเหลือง เนื้อ ควายจะมีลายเส้นของกล้ามเนื้อหยาบ เนื้อเหนียวกว่าและมีสีคล้ำกว่าเนื้อวัว มันที่ติดเนื้อควายจะมีสีขาวเหมือนเนื้อ หมูการเลือกซื้อเนื้อส่วนต่าง ๆ ราคาจะไม่เท่ากัน เมื่อเวลาซื้อ จะต้องบอกผู้ขายว่าเราต้องการเนื้อส่วนใด เพื่อไป ประกอบอาหาร ฉะนั้นผู้ซื้อจะต้องรู้จักส่วนต่าง ๆ ของเนื้อเพื่อป้องกันการถูกหลอกส่วนต่าง ๆ ของเนื้อมีดังนี้
เนื้อที่ติดอยู่กับคอ (Chuck) เหมาะสำหรับทำอาหารอบ สตูว์ ซี่โครง (Rib) ใช้ในการอบ ทอด ย่าง เนื้อสัน (Sirloin) จะแบ่งเป็นสันในกับสันนอก เป็นส่วนที่เลยบั้นเอว สันใน คือ เนื้อที่หุ้มสันหลังด้านใน เป็นส่วนที่นุ่ม จะมีราคาแพง เนื้อที่หุ้มสันหลังด้านนอกจะเป็นส่วนเนื้อสันนอก ทั้งเนื้อสันในสันนอก เหมาะสำหรับการนำมาทอด ย่าง อบ เนื้อสะโพก (Round) หรือเนื้อลูกมะพร้าว (Rump) เหมาะที่จะใช้แกง ย่าง ทำเนื้อบด เนื้อที่สีข้าง (Flank) ส่วนนี้จะมีไขมัน เมื่อแล่ออกบ้างแล้วจะเหมาะในการอบ หรือเอามาบด เนื้อพื้นท้อง (Short Plate) เหมาะสำหรับทำสตูว์ เนื้อเปื่อย เนื้อตุ๋น เนื้อท่อนขา หรือเนื้อน่องลาย (Fore Shank) เป็นส่วนที่เหนียว ถ้าจะนำประกอบอาหารต้องเคี่ยวหรือ หมักให้เนื้อนุ่ม ลิ้นวัว เหมาะที่จะนำมาเคี่ยวทำสตูว์ ลิ้นย่าง กระดูกวัว สามารถนำมาต้มทำน้ำซุปเนื้อ
การเลือกซื้อเนื้อหมู ต้องดูเนื้อละเอียด มีสีชมพูอ่อน นุ่มเป็นมัน เนื้อแน่น มันสีขาวถ้าหมูแก่จะมีสีแดงแก่ มัน สีเหลือง ไม่มีกลิ่นเหม็น ส่วนต่าง ๆ ของหมูมี หัว เนื้อแดง เนื้อสันใน สามชั้นขาหน้า ขาหลัง ซี่โครงเครื่องใน กระดูก ส่วนต่าง ๆ ของเนื้อหมูที่นำมาประกอบอาหาร
หัวหมู นำมาต้มสุก ส่วนมากซื้อไปเพื่อแก้บน หรือนำไปเซ่นไหว้ เมื่อต้มสุกแล้ว อาจนำไปประกอบอาหาร ได้หลายชนิด เช่น ทำหมูตั้ง ยำหูหมู แกง ผัดเผ็ด หรือหั่นจิ้มน้ำจิ้ม คอหมู เป็นส่วนเนื้อที่ติดกับกระดูกต้นคอ เนื้อส่วนนี้จะมีมันปน เหมาะที่จะนำมาย่างจิ้มน้ำจิ้ม เนื้อจะนุ่ม เนื้อแดง เป็นส่วนที่มีเนื้อล้วน ๆ ไม่ติดมัน เหมาะที่จะนำมาอบ ทอด โดยใช้เวลาในการทำสุกไม่นาน เพราะถ้านำไปประกอบอาหารที่ต้องใช้เวลานาน ๆ เช่น ต้ม เคี่ยว เนื้อจะเหนียวแทนที่จะนุ่มและมีรส จืดลง สันใน เป็นเนื้อที่ติดกับสันหลัง ลักษณะเนื้อเป็นชั้นยาวไม่ติดมัน ส่วนนี้จะมีความนุ่ม สามชั้น เวลาซื้อควรเลือกสามชั้นที่มีหนังหรือมันบาง เหมาะสำหรับทำหมูย่าง หนังกรอบพะโล้ ต้มหัว ผักกาดเค็ม ฯลฯ หมูสามชั้นเป็นส่วนที่มีราคาถูกที่สุด เมื่อเทียบกับเนื้อส่วนอื่น ๆ ขาหน้า ส่วนขาหน้านี้จะมีเนื้อมาก ก่อนจะนำขาหมูมาใช้ประกอบอาหารต้องนำขาหมูมาเผาไฟให้หมด ขน แล้วขูดผิวให้สะอาด จากนั้นจึงนำไปตุ๋นให้เปื่อย โดยใช้เวลาในการประกอบนานพอสมควร ขาหลัง เนื้อส่วนนี้จะมีน้อยกว่าขาหน้า นิยมใช้ทำต้มยำ ต้มเค็ม มันหมู เป็นไขมันของหมู แบ่งเป็นมันแข็ง และมันเปลว เราจะนำมาเจียวเอาน้ำมันมาใช้เพื่อประกอบ อาหารการเก็บรักษาเนื้อสัตว์ทุกชนิด เลือกซื้อมาแล้วควรเก็บไว้ในตู้เย็น แต่ไม่ควรเกิน 2 – 3 วัน ต้องเก็บไว้ในช่องน้ำแข็ง หรือที่มีอุณหภูมิ ต่ำกว่า 18 องศาเซลเซียส ถ้าซื้อชนิดที่แช่แข็งมาจากร้าน ควรนำแช่ต่อทันทีในตู้เย็น ถ้าเนื้อสะอาดดีแล้วไม่ควรทำความสะอาด เพราะคุณค่าของอาหารจะละลายไปกับน้ำและจะทำให้เนื้อ เสียเร็ว เทคนิคการประกอบอาหารประเภทต่างๆ สามารถแบ่งตามลักษณะของประเภทอาหารได้ 4 ประเภท คือ
1 การประกอบอาหารประเภทสัตว์ใหญ่ การทำอาหารนานาชาติประเภทสลัดเนื้อ สเต๊ก เนื้อสันในเป็นส่วนที่ดีที่สุด นิยมทอดให้ข้างนอกเกรียม นิด ๆ ข้างในนุ่มมีลักษณะสีแดง การทอดเนื้อเป็นชิ้น ก่อนทอดถ้าเป็นเนื้อชิ้นใหญ่ใช้ฆ้อนทุบให้นุ่ม การทอดใช้ไฟแรงทอดพอข้างนอกสุก ข้างในนุ่ม
การย่างหรืออบ ถ้าชิ้นใหญ่ทุบให้นุ่มก่อน หมักด้วยเครื่องปรุง เช่น เกลือ พริกไทย เนย แล้วจึงนำไปย่าง หรืออบใช้ไฟค่อนข้างอ่อน ถ้าใช้หมูสันนอกจะดี การทำเนื้อให้เปื่อย ใช้น้ำส้ม เหล้า หรือน้ำสับปะรดหมัก จะทำให้เนื้อนุ่ม
การเคี่ยว เมื่อต้องใช้น้ำมาก ๆ ใส่เกลือใช้ไฟแรงช่วงแรก ประมาณ 10 นาที จึงลดไฟ เคี่ยวไฟรุม ๆ ไปจนเนื้อเปื่อยนุ่ม
ลักษณะการสุกของเนื้อ สุกน้อย (Rare) คือตรงกลางสีแดงชมพูจัด ผิวนอกจะมีสีน้ำตาล เมื่อใช้มีดหั่นจะมีน้ำสีแดงจัดออกมา อุณหภูมิภายใน 140 องศาฟาเรนไฮต์ สุกปานกลาง (medium) คือตรงกลางของเนื้อค่อยๆเป็นสีเทาเข้ม ผิวนอกสีน้ำตาล น้ำสีชมพูอ่อน อุณห ภูมิภายใน160 องศาฟาเรนไฮต์ สุกดี (Well done) คือเนื้อสีเทาปนน้ำตาล น้ำไม่ค่อยมี ถ้ามีสีจะเหลืองอ่อน ๆ อุณหภูมิภายใน 170 องศาฟาเรนไฮต์
2 การประกอบอาหารสัตว์ประเภทสัตว์ปีก ได้แก่ พวกสัตว์ปีก เช่น ไก่ เป็ด ห่าน นก การปรุงอาหารประเภทสัตว์ปีก อุณหภูมิ ในการประกอบระหว่าง 300-350 องศาฟาเรนไฮต์ ใช้เนยหรือน้ำมันราดเป็นครั้งคราวเพื่ อไม่ให้ส่วนผิวนอกแข็งเกินไป ในขณะที่ส่วน ในยังไม่สุก
3 การประกอบอาหารสัตว์น้ำต่างๆ ประเภทปลาต่างๆ ปลาเป็นเนื้อสัตว์ที่ย่อยง่าย โปรตีนในเนื้อปลาสลายตัวเร็วกว่าเนื้อสัตว์ใหญ่ จึงมีหลัก การประกอบอาหาร คืออาหารประเภทปลาต้องใส่ความร้อนเร่ง เพื่อให้โปรตีนสุกทันที เนื้อปลาที่ได้จะมีลักษณะ น่ารับประทาน ไม่มีกลิ่นคาว เนื้อไม่ยุ่ย ใส่ปลาในขณะน้ำเดือด โปรตีนจะแข็งตัวทันที ปลามีเกล็ด ควรขอดเกล็ด ก่อนประกอบอาหาร ดึงไส้ออกล้างให้สะอาด การแช่ปลาในช่องแข็ง ต้องวางปลาพักไว้ให้อ่อนตัวในช่องธรรมดา ไม่ควรให้น้ำแข็งละลายหมด น้ำหวานของปลาจะละลาย ประเภทกุ้ง กุ้งเป็นเนื้อสัตว์ที่สุกง่าย ไม่ควรแช่กุ้งในน้ำนาน ๆ น้ำหวานของกุ้งจะออกหมาด ต้องล้างเร็วๆ แล้วปอกเปลือกกุ้งออก
4. การประกอบอาหารประเภทผัก การปรุงอาหารประเภทผัก ต้องรู้ชนิดของผัก และการนำมาประกอบอาหารให้ถูกประเภท ข้อสำคัญในการ ปรุงอาหารประเภทผักต้องรักษาสี กลิ่น รส ให้คงสภาพมากที่สุด เช่น สลัดผัก ผักต้องกรอบ การหุงต้มผักต้อง ใช้เวลาสั้น ไฟแรง ใส่เกลือเล็กน้อย ผักจะมีสีสวย การประกอบอาหารสไตล์ต่างประเทศ เรื่องของน้ำสต๊อก ซอส และซุป มีส่วนสำคัญ เพราะอาหารนานาชาติ แต่ละชนิดจะใช้น้ำสต๊อก ซอส หรือซุปต่าง ๆ กันไป จึงมีความจำเป็นที่ผู้ประกอบอาหารชนิดนี้ต้องศึกษาเอาไว้
น้ำสต็อก น้ำสต็อก คือการนำเอากระดูก ผักสด น้ำ ที่ได้สัดส่วน โดยใช้น้ำเย็น เคี่ยวไฟอ่อน แล้วนำมากรอง
การทำอาหารฝรั่ง ความสำคัญของน้ำสต็อกเป็นพื้นฐาน การทำซุปและซอสต่าง ๆ การทำน้ำสต็อกน้ำต้องใส ถ้าขุ่นให้ใช้เปลือกไข่ใส่ลงไป คนสักครู่จะได้น้ำสต็อกที่ใสขึ้น ควร เก็บน้ำสต็อกไว้ในตู้เย็นเพื่อไม่ให้เสียเร็ว
น้ำสต็อกแบ่งได้ 5 ประเภท คือ ====น้ำสต็อกสีน้ำตาล เป็นการนำกระดูกหมูไปอบจนเหลือง นำมาเคี่ยวใส่ผักและเครื่องเทศ คือ พริกไทย ต้นกระเทียม และเกลือ ====น้ำสต็อกสีขาว เป็นการนำกระดูกดิบมาต้มใส่ผักและเครื่องเทศ ====น้ำสต็อกไก่ เป็นการนำโครงไก่ ต้มไฟอ่อน ๆ ใช้เวลานาน ====น้ำสต็อกผัก เป็นน้ำต้มผัก นำมาต้มสกัดเอาความหวาน ปรุงรสด้วยเกลือ พริกไทย ==== น้ำสต็อกปลา เป็นการนำกระดูกปลา ครีบ และหาง มาต้มกับหอมใหญ่ ผักชีฝรั่ง ใช้ทำน้ำซอสราดปลา
การต้มน้ำสต็อกสีขาว ส่วนผสม กระดูก 2 กิโลกรัม แครอทหั่นบาง 1 หัว หอมใหญ่สับ 1 หัว คึ่นฉ่ายหั่นท่อน 1 ต้น ต้นกระเทียมหั่นซอย 1 ต้น กานพลู 3 ดอก เกลือ 1/2 ช้อนชา ใบกระวาน 2 ใบ ไทม์ 1 ช้อนโต๊ะ พริกไทยเม็ด 10 เม็ด วิธีทำ ล้างกระดูกให้สะอาดใช้น้ำประมาณ 10 ถ้วย ใส่เกลือต้มไฟอ่อน ๆ พอน้ำเดือดใส่ส่วนผสมทั้งหมด ลงต้ม เคี่ยวต่อไปอีก 2 ชั่วโมง กรองด้วยผ้าขาวบาง ใส่ภาชนะเก็บในตู้เย็น ซอส (Sauce)ซอส เป็นของเหลวปรุงรส การทำอาหารฝรั่งต้องทำซอสเพิ่ม เพราะซอสช่วยทำให้อาหารมีรสชาติ ชนิด ของซอสมีมากมายหลายชนิด ซึ่งต่างกันออกไป แต่ที่นิยมคือซอสร้อน จะมีใช้กันมากและใช้กับอาหารทุกชนิด ส่วน ซอสเย็นจะใช้กับซุปร้อนหรืออาหารแช่เย็น ซอสที่นิยมใช้กันคือ ซอสสีขาวหรือครีมซอส ทำจากน้ำสต็อกใส เป็นซอสที่ประกอบด้วย นม เกลือ พริกไทย ทำให้ข้นโดย ใช้แป้ง ซอสสีน้ำตาล ทำจากน้ำสต็อกที่มีสีน้ำตาล จะใช้กับเนื้อและไก่ เช่น น้ำเกรวี่ ก็จัดเป็นซอสชนิดหนึ่ง ซอสที่มีไข่แดงเป็นหลัก ซอสประเภทนี้ต้องระมัดระวังในการทำเพื่อป้องกันการจับตัว ตีไข่แดงกับเนย ด้วยที่ตีไข่ จะมีลักษณะข้นหนืด ซอสเย็น เป็นซอสที่เสิร์ฟกับอาหารที่แช่เย็น เช่น สลัด ออเดิฟ น้ำสลัดก็จัดเป็นซอสชนิดหนึ่ง ซอสที่เสิร์ฟกับอาหารหวาน เป็นซอสที่เสิร์ฟกับอาหารหวาน ส่วนใหญ่เสิร์ฟกับขนมอบต่าง ๆ แพนเค้ก พุดดิ้ง ผลไม้เชื่อม เช่น ฮันนี่ซอส ชอคโกแลตซอส
ซุป (Soup)ซุปเป็นอาหารที่เป็นของเหลว ที่มีคุณค่าทางอาหาร ทำจากเนื้อไก่ ปลา หรือผักต่างๆ ซุปที่นิยมทำและ รับประทานแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ซุปใสและซุปข้น ซุบใส (Thin Soup) การทำซุบใสจะทำจากเศษเนื้อต้ม แล้วใส่ผักปรุงรส การทำซุปใสให้อร่อย ควรใช้เครื่องปรุงที่มีคุณภาพดี เคี่ยวนาน ๆ ใช้ไฟอ่อน ซุบร้อนควรเสิร์ฟร้อน ซุบเย็นควรเสิร์ฟเย็น ซุบใสมีอยู่ 2 ชนิดคือ คอมซอมเม่ (Consomme) กับบรอธ (Broth)
คอนซอมเม่ (Consomme) เป็นซุบใสใช้เนื้อ ไก่ หรือปลากับผักต่าง ๆ เครื่องปรุงแต่ละอย่าง ต้องสอดคล้องกัน เช่นน้ำซุปใสเนื้อวัวก็ต้องใช้น้ำสต็อกจากวัว น้ำซุปไก่ใช้น้ำสต็อกจากไก่ ลักษณะ น้ำซุป ชนิดนี้ต้องใส ในการต้มน้ำซุปต้องใช้เวลาต้มเคี่ยวนาน เมื่อกรองได้น้ำซุปแล้วต้องต้มอีก ครั้ง โดยใส่ไข่ขาวตีให้แตกลงในหม้อน้ำซุป พอไข่ขาวแข็งตัวกรองให้ได้น้ำซุปที่ใส การกรอง ควรกรองด้วยผ้าขาวบาง เพื่อไม่ให้เศษต่าง ๆ ตกลงไป เพื่อให้ได้น้ำซุปใสจริง ๆ
บรอธ (Broth) น้ำต้มเนื้อ โดยนำเนื้อมาสับหรือบดละเอียด ต้มกับผักชนิดต่าง ๆ แล้วกรองเอา แต่น้ำ จะไม่ใสเท่ากับคอนซอมเม่ เวลาเสิร์ฟจะใส่เครื่องปรุง เช่น เนื้อสับ ไก่สับ
ซุปข้น (Thicked Soup) หมายถึงซุปที่มีลักษณะข้น ไม่ใส จะข้นด้วยแป้ง ผัก หรือเนื้อสัตว์ ซุปข้น น้ำซุปที่ใช้ต้องกรองก่อน ลักษณะของซุปข้น ควรข้นพอดี คือใช้พายไม้คนแล้วยกขึ้นให้ไหล ช้า ๆ ถ้าข้นเกินไปจะแก้ไขโดยเติมน้ำหรือนม ครีมซุปที่ใส่ครีมหรือนมไม่ควรแตกมัน เพราะจะทำ ให้เกิดไขมันเป็นหยดใหญ่ลอยอยู่บนหน้า จึงต้องควรระวัง
ขอขอบคุณ https://kewalin37.wordpress.com
No comments:
Post a Comment